เกี่ยวกับเรา

บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด

ยุคที่ 1 โครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านในชนบท 

องค์กร Catholic Relief Services (CRS) ได้เริ่มโครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้าน (Village Banking Project) ในเดือน กันยายน พ..  2531 โดยให้เงินกู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำแก่องค์กรพัฒนาเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อนำเงินไปดำเนินกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านกับกลุ่มสตรียากจนในชนบท ในช่วงนั้นมีองค์กรที่เข้าร่วมเป็นพันธมิตร องค์กร ได้แก่ 1) สมาคมมิตรชนบท จังหวัดสุรินทร์ 2) มูลนิธิพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมเขตร้อยเอ็ด เขตชุมพวง และเขตอุบลราชธานี 3) มูลนิธิพัฒนาอีสาน จังหวัดสุรินทร์ และ 4) สมาคมเทคโนโลยีที่เหมาะสม จังหวัดร้อยเอ็ด

ยุคที่ 2 ปรับเปลี่ยนเข้าสู่การทำงานในรูปแบบบริษัท


ในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการกำหนดเป้าหมายสำคัญของโครงการเพิ่มขึ้น 2 ประการ ได้แก่ การบริหารจัดการกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านเพื่อความยั่งยืนและการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมาเพื่อรับช่วงการดำเนินงานโครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านในชนบทต่อจากองค์กร CRS ซึ่งจะถอนตัวออกจากประเทศไทย ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2539 จึงได้จัดตั้งบริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด โดยจดทะเบียนเป็น บริษัท จำกัด  วันที่ 26 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2539 ณ สำนักงานพาณิชย์จังหวัด ทุนจดทะเบียน 500,000 บาท แบ่งเป็น 50,000 หุ้น และมีผู้ถือหุ้น 15 ราย

ยุคที่ 3 ปรับรูปแบบการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้าน 

บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด ได้ปรับรูปแบบการดำเนินโครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้านโดยการให้สินเชื่อสู่กลุ่มเป้าหมายโดยตรงแทนการให้สินเชื่อผ่านองค์กรพันธมิตรเพื่อปรับปรุงด้านการลงทุนและสร้างความมั่นคงให้กับองค์กรและกลุ่มสมาชิกในโครงการ ในช่วงนี้ องค์กร CRS ได้ส่งทีมงานจากองค์กร Microfinance Alliance for Global Impact (MAGI) ลงมาช่วยบริษัทปรับปรุงยุทธศาสตร์การดำเนินงานและศึกษาผลกระทบทางด้านการตลาด เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการและการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

ยุคที่ 4 บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด กับงานธุรกิจเพื่อสังคม 

ในปี พ.ศ. 2549 องค์กร CRS มีนโยบายงดการสนับสนุนงานด้าน Microfinance และตัดสินใจมอบหุ้นส่วน เงินกู้ รายได้จากปันผล และดอกเบี้ยที่มีอยู่กับ บริษัท พัฒนาธุรกิจขนาดย่อม จำกัด ให้กับองค์กรที่สามารถรองรับและสานต่องานพัฒนาได้ ดังนั้น จึงได้จัดตั้ง มูลนิธิสตางค์ ขึ้นมาเพื่อรองรับเงินทุนดังกล่าวจากองค์กร CRS โดยมูลนิธิสตางค์มีบทบาทหน้าที่ในด้านงานพัฒนาและพัฒนาศักยภาพกลุ่มสตรีออมทรัพย์ภายใต้โครงการส่งเสริมกิจกรรมกองทุนหมุนเวียนหมู่บ้าน

คณะกรรมการบริษัท

นายกรรชิต สุขใจมิตร

ประธานกรรมการ

นายโกวิทย์
กุลสุวรรณ

กรรมการ

นายเสนีย์
บัวเขียว

กรรมการ

น.ส.ยุภาพร บุญติด

กรรมการ

นายดนัย
พรรักษมณี

กรรมการ

ผู้ถือหุ้น

ลำดับ

รายชื่อผู้ถือหุ้น

สัดส่วนหุ้น

1

มูลนิธิสตางค์

55.0%

2

ชุมนุมสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนแห่งประเทศไทย

6.0%

3

กลุ่มพันธุ์ไม้

6.0%

4

มูลนิธิพัฒนาอีสาน

6.0%

5

สังฆมณฑลอุบลราชธานี

5.0%

6

สมาคมมิตรชนบท

2.0%

7

นายบัณฑร อ่อนดำ

5.0%

8

นายดนัย พรรักษมณี

5.0%

9

น.ส.ยุภาพร บุญติด

3.6%

10

นายธนยศ พรมด้าว

2.0%

11

นายเสนีย์ บัวเขียว

2.0%

12

นางสมจันทร์ บัวเขียว

2.0%

13

นางอรุณ เทียบทอง

0.2%

14

นางสุดารัตน์ โกยสวัสดิ์

0.1%

15

น.ส.จิรวัส แก่นเดียว

0.1%

หลักสูตรฝึกอบรม

  1. การจัดตั้งกลุ่มการเงินขนาดเล็กในชุมชน
  2. การบริหารจัดการกลุ่มการเงินขนาดเล็กในชุมชน
  3. การบริหารจัดการสินเชื่อและความเสี่ยง
  4. การจัดทำบัญชีสำหรับกลุ่มการเงินขนาดเล็กในชุมชน 
  5. การจัดทำปันผลสำหรับกลุ่มการเงินขนาดเล็กในชุมชน

พื้นที่ดำเนินงาน

Scroll to Top